ถ้าเรามีภาพวาด Abstract ที่ดูไม่รู้เรื่องได้
ถ้าเรามีเพลง Atonal ที่ฟังไม่รื่นหูได้
. . ทำไมเราถึงจะมี บทกวี ที่ไม่มีความหมายไม่ได้ ?
hjgljvyuixt;cvboni;po'[molfkdgzdnxfcfghjkll/.,mnbvcxcfytuewrqewertyuiop[]plkjnb
lknjbvcxcvbnm,./.,mnbhcgfdrtyoiuitrew ,MNBVCFTYTIUOIUgbjnk;mkpojh8g7ft
1234567890-=-09876543234567890-==098_)(*&^%$#@!@#$%^&%nyC
^
^
ไม่... ไม่ใช่ค่ะ //ถึงจะไม่มีความหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มั่ว ได้นะคะ
เพราะบทกวีมีไว้อ่านออกเสียง ฉะนั้นมันจึงจะต้องมีโครงสร้าง หรือไวยากรณ์ของมัน
เช่น Free Verse และ "Verse without words" ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ บทกวีเสียง หรือ Sound Poetry
Sound Poetry is the use of written language, phonetic sound, and the combination of primordial vocalization often without meaning to make a performance piece.
ว่าง่ายๆ เลย ก็คือ เป็นบทกวีเพื่อ 'เสียง' ที่ไม่จำเป็นต้องมีความหมายทางภาษาใดๆ
แต่ทั้งนี้ ตัวศิลปินผู้แสดงก็ต้องสื่อสิ่งที่ต้องการจะสื่อการออกมาผ่านทั้งทาง ภาษากาย ร่วมกับ น้ำเสียง ที่ใช้ แทนการใช้คำพูดที่มีความหมาย
... เพราะอย่าไรก็ตาม ศิลปะก็คือการถ่ายทอดความหมาย หรือบอกเล่าเรื่องราวอะไรสักอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างบทกวีเสียงที่มีชื่อเสียง:
ผลงานชื่อ "Ursonate" ของ Kurt Schwitters ศิลปินชาวเยอรมัน
คนที่ทำ Real-Time Typography หรือตัวอักษรประกอบการแสดงสด ก็คือ Golan Levin ศิลปินสื่อดิจิตอลและวิศวกรชาวอเมริกัน
โดยเขาใช้โปรแกรมตรวจจับการออกเสียงแต่ละคำ เพื่อ link ตัวอักษร (text from the poem) กับ เสียง (performing voice) ให้เชื่อมต่อกันแบบเรียลไทม์
Typography นั้น ต่างจาก Subtitle ตรงที่ ซับไตเติล เป็นเพียงแค่คำบรรยายประกอบธรรมดา
ซึ่งเป็นตัวอักษรขึ้นอยู่ด้านล่างของวิดีโอหรือหนัง เรียงเป็นบรรทัดแบบตรงไปตรงมาโดยที่ไม่ได้มีการออกแบบใดๆ
ในขณะที่ ไทโปกราฟี นั้น คือ งานออกแบบที่ใช้ตัวอักษรเป็นหลัก
ตัวอย่าง:
หวังว่าบทความนี้จะช่วยเปิดโลก และให้อะไรกับท่านผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย
และขอส่งท้ายบทความนี้ ด้วยคลิป Typography ประกอบบทกวี Ursonate แบบเพียวๆ
Comments